ข้อแตกต่าง ระหว่าง Refinance และ Retention เลือกแบบไหนใช่ที่สุด

 

 

หลายๆคนคงจะเคยได้ยินคำว่า รีไฟแนนซ์ (Refinance) ค่อนข้างบ่อย โดยเฉพาะผู้ที่กู้สินเชื่อบ้าน, คอนโดต่างก็รู้ดีว่าเมื่อผ่อนครบระยะ 3 ปี จะต้องดำเนินการ รีไฟแนนซ์ เพราะด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จึงต้องหาวิธีเพื่อปรับลดดอกเบี้ยของสินเชื่อ นอกจากการรีไฟแนนซ์แล้วยังมีอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดอัตราดอกเบี้ยได้เช่นกัน นั่นก็คือ รีเทนชั่น (Retention) หรือ การขอปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่พออ่านมาถึงตรงนี้เริ่มสงสัยใช่ไหมคะ Refinance และ Retention ก็เป็นการปรับลดดอกเบี้ยคล้ายๆกันแล้วทั้งสองแบบมีเงื่อนไขหรือข้อแตกต่างกันอย่างไร?  วันนี้ IQI Thailand จะพาทุกคนไปหาคำตอบกันค่ะ

 

• รีไฟแนนซ์ (Refinance) คืออะไร
รีไฟแนนซ์ คือ การขอยื่นกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคารใหม่เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงและปรับยอดผ่อนบ้าน, คอนโดในแต่ละเดือนให้น้อยลง
• รีเทนชั่น (Retention) คืออะไร
รีเทนชั่น คือ การขอเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิม

 

 

• ข้อแตกต่าง ระหว่าง Refinance และ Retention
▶ Refinance
 – ยื่นกู้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่
 – เตรียมเอกสารการขอยื่นกู้ใหม่ทั้งหมด
 – ระยะเวลาอนุมัติเท่ากับการขอกู้ใหม่
 – มีค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระสูงกว่า
 – มีสิทธิ์เลือกธนาคารที่มีดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าได้
▶ Retention
 – ยื่นกู้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิม
 – ไม่ต้องจัดเตรียมเอกสารใหม่
 – ระยะเวลาอนุมัติรวดเร็ว
 – ค่าธรรมเนียมประมาณ 1-2% ของยอดวงเงินกู้
– เงื่อนไขเป็นไปตามธนาคารเดิมกำหนด

 

• ข้อดีและข้อเสีย ระหว่าง Refinance และ Retention
▶ ข้อดี Refinance
– ได้อัตราดอกเบี้ยในเรทต่ำ
– งวดผ่อนต่อเดือนจะลดน้อยลง
– โปรแกรมรีไฟแนนซ์มักจะมาพร้อมกับโปรโมชั่นพิเศษ เช่น ฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย 3 ปี
– สามารถเปรียบเทียบเลือกอัตราดอกเบี้ยในเรทต่ำได้หลายธนาคาร
▶ ข้อเสีย Refinance
– จัดเตรียมเอกสารใหม่ทั้งหมด
– ค่าธรรมเนียมต่างๆที่มากกว่า เช่น ค่าประเมิน, ค่าจดจำนอง, ค่าอากรแสตมป์, ค่าประกันอัคคีภัย, ค่าธรรมเนียมจัดการสินเชื่อ
– ใช้เวลาในการอนุมัติใหม่ 7-14 วัน*
▶ ข้อดี Retention
– ประหยัดเวลาเพราะใช้เอกสารการยื่นกู้ฉบับเดิม
– พิจารณาอนุมัติเร็ว
– ค่าธรรมเนียมถูกกว่าการ Refinance
▶ ข้อเสีย Retention
– ได้ลดอัตราดอกเบี้ยไม่เยอะ โดยอัตราดอกเบี้ยจะเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

สรุป : รีเทนชั่น (Retention) มีความสะดวกและง่ายต่อการขอลดอัตราดอกเบี้ย สำหรับ รีไฟแนนซ์ (Refinance) มีโอกาสในการเลือกอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดได้ หากถามว่าควรจะเลือกแบบไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับการวางแผนใช้เงินแต่ละคน และที่สำคัญอย่าลืมศึกษาเงื่อนไขของแต่ละธนาคารอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจนะคะ