สรุป 3 วิธีการถือครองอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย (กรณีชาวต่างชาติ)

 

 

ตามหลักกฎหมายของประเทศไทยชาวต่างชาติจะไม่สามารถซื้อที่ดินในประเทศไทยได้ แต่ก็ยังสามารถถือครองสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นๆได้ (โดยไม่รวมที่ดิน) การซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยของชาวต่างชาติจะไม่ใช่เรื่องยากหากทำความเข้าใจและศึกษาข้อจำกัดทางกฎหมายก่อน โดยวันนี้ IQI Thailand สรุป 3 วิธีสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการถือครองอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย

 

1. ซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุด (คอนโดมิเนียม)
สำหรับคอนโดมิเนียมชาวต่างชาติสามารถถือครองได้โดยสมบูรณ์และเป็นอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียวที่ชาวต่างชาติสามารถซื้อเป็นชื่อของตัวเองได้ โดยมีกฎหมายให้ครอบครองได้ 49% ของเนื้อที่คอนโดมิเนียมทั้งหมดในโครงการนั้นๆ เช่น มีโครงการคอนโดมิเนียมจำนวนทั้งหมด 100 ห้อง สามารถให้ชาวต่างชาติครอบครองได้เพียง 49 ห้องเท่านั้น และจะต้องโอนเงินจากธนาคารต่างประเทศมายังธนาคารในประเทศไทย โดยต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือใบรับรองจากธนาคารเพื่อป้องกันการฟอกเงิน

 

 

2. ซื้อผ่านบริษัทจำกัดของไทย
จัดตั้งบริษัท โดยมีเงื่อนไขคือบริษัทจะต้องเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไทยและต่างชาติ โดยชาวต่างชาติจะสามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ของทั้งหมด ในจำนวนหุ้นที่เหลือจะถือโดยบุคคลหรือนิติบุคลสัญชาติไทย (สามารถแต่งตั้งทนายเพื่อปรึกษาในส่วนนี้ได้) จากนั้นโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์นั้นให้เป็นชื่อบริษัท ชาวต่างชาติจะสามารถอยู่อาศัยในฐานะกรรมการ แต่ไม่ใช่เจ้าของ

 

 

3. ซื้อร่วมกับผู้ที่มีสัญชาติไทย (คู่สมรส)
การสมรสกับชาวไทยเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์จะเป็นอีกวิธีที่ใช้ชื่อคู่สมรสสัญชาติไทยเป็นผู้ซื้อและจะถือว่ากรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นของคู่สมรสสัญชาติไทย แต่วิธีนี้ยังถือว่าเป็นวิธีการที่ค่อนข้างเสี่ยง เพราะเมื่อเกิดปัญหาผู้ซื้อร่วมที่เป็นชาวต่างชาติจะเสียเปรียบเนื่องจากไม่สามารถยกกฎหมายขึ้นต่อสู้เพื่ออ้างสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ได้

 

 

อย่างไรก็ตาม วิธียอดนิยมที่ชาวต่างชาติยังสามารถทำได้ ก็คือการเช่า โดยวิธีนี้จะมีทั้งการเช่าระยะสั้น (ไม่เกิน 3 ปี) และ การเช่าระยะยาว (3 ปีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 30 ปี และมีเงื่อนไขการต่อสัญญาเช่า) สำหรับชาวต่างชาติวิธีการเช่าเป็นวิธีที่ง่ายสะดวกและนิยมที่สุด